น้ำตกทีลอซู จ.ตาก ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจาก ระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วย ป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชียตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และ เป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้นจึงมีความพยายาม ทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ"
การเดินทางท่องเที่ยวน้ำตกทีลอซูหลังจากมาถึงจุดกางเต้นท์แล้ว จะมีเส้นทางเดินไปยังน้ำตก ระยะทาง 1.5 กม. เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติผ่านป่าไผ่และป่าเบญจพรรณ ระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติและ พืชพันธุ์ตามจุดต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา เมื่อถึงบริเวณน้ำตก จะเห็นละอองน้ำฟุ้งกระจายไปทั่วโขดหินเบื้อง ล่าง มองเห็นธารน้ำตกลงมาจากผาหินปูนซึ่งอยู่สูงประมาณ300ม. ตามแนวกว้างกว่า500 ม. ท่ามกลางป่าครึ้มอาจ แบ่งธารน้ำตกได้เป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มด้านซ้ายมือ (เมื่อหันหน้าเข้าหาน้ำตก) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดสูงที่สุด และเป็น ด้านที่สวยที่สุด มีธารน้ำตกหลายสายไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเชิง ส่วนกลุ่มตรงกลาง สายน้ำไหลลงมาจาก หน้าผาสูงชันใกล้เคียงกบกลุ่มซ้ายมือแต่ไม่เป็นชั้นและแคบกว่า ส่วนกลุ่มทางขวามือ มีสายน้ำตกมากและ หน้าผาเตี้ยกว่าสองกลุ่มแรก เมื่อมองทั้งสามกลุ่มรวมกันจะเห็น น้ำตกทีลอซู ที่ยิ่งใหญ่และสวยงามบริเวณ ด้านล่าง มีทางเดินไปยังจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาฝั่งตรงกันข้าม เป็นจุดที่มองเห็น น้ำตกทีลอซู ได้สวยงาม และชัดเจนขึ้น ใช้เวลาเดินไปกลับประมาณ 1 ชม
ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย ได้กำหนดให้น้ำตกทีลอซู เป็นหนึ่งในเก้าตะวัน ตามโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ "มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่น้ำตกทีลอซู
1.ช่วงฤดูฝน ตั้งแต่ มิ.ย. – ก่อนถึงวันที่ 1 พ.ย.นักท่องเที่ยวจะต้องล่องเรือยางจากตัวเมืองอุ้มผางตามลำน้ำกลองซึ่งจะได้ชมวิวทิวทัศน์อละความสมบูรณ์ของ ผืนป่าตลอดเส้นทาง ผ่านบ่อน้ำร้อน น้ำตกทีลอจ่อที่ตกลงมาจากหน้าผาสูงและผ่านน้ำตกสายรุ้ง ซึ่งหากเดิน ทางไปในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะเห็นรุ้งกินน้ำที่เกิดจากแสงที่ตกกระทบกับละลองน้ำของสายน้ำตก ผาผึ้ง ผาเลือด ผาบ่อง ผาโหว่ ก่อนจะแวะพักทานอาหารกลางวันกันริมน้ำใกล้ผาเลือด การล่องเรือจะใช้เวลา ประมาณ 3 ชั่วโมง มาจนถึงจุดเดินเท้าระยะทาง 9 กิโลเมตร ซึ่งนักท่องเที่ยวต้องเดินเข้าไปยังจุดกางเต้นท์ ของที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง เพราะยังไม่อนุญาติให้รถเข้า เส้นทางการเดินก็มีทั้งลาดชันขึ้นเขา ลงเขาและทางราบเรียบสลับกันไป เมื่อถึงที่ทำการพักผ่อน จากนั้นเดินเท้าเข้าไปยังน้ำตกอีกประมาณ 1.5 ก.ม. ก็จะถึงน้ำตกทีลอซู ในช่วงเวลานี้น้ำตกทีลอซจะมีปริมาณมาก ผืนป่าเขียวขจีและสีน้ำตกจะขุ่นเล็กน้อย รูปแบบนี้จะเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัยและเดินป่า
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
หากมาเที่ยวในช่วงนี้ต้องเตรียมพร้อมร่างกายให้ดี เตรียมเสื้อกันฝน ถุงพลาสติก ลูกอม ยาดม หมวกให้พร้อม โดยเฉพาะรองเท้า ควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย ในช่วงล่องเรือไม่ควรใส่รองเท้าผ้าใบอาจ เปียกน้ำและ ทำให้เดินไม่สบายเท้า แต่เมื่อมาถึงช่วงเดินทางการใส่รองเท้าผ้าใบจะสบายเท้าที่สุด หรือหากใช้รองเท้าแบบ สายรัด หรือแบบอื่น ก็ย่อมได้ แต่สำคัญที่สุดควรเตรียมถุงเท้าไปใส่ด้วยหลังจากล่องเรือเรียบรอยแล้ว เพราะ ระยะทางการเดินไกล ไม่ว่าจะใส่รองเท้าแบบไหน สบายแค่ไหน โดนกัดทุกราย การใส่ถุงเท้าจะช่วยป้องการได้ และควรเตรียมพลาสเตอร์ปิดแผลป้องกันไว้ด้วย
2. ช่วง 1 พ.ย. - เม.ย. ฤดูการท่องเที่ยว
อนุญาติให้นำรถเข้าไปได้ สามารถเดินทางโดยรถขับเคลื่อนสี่ล้อจากที่พักจน ถึงจุดกางเต้นท์ ที่ทำการเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง โดยไม่ต้องเดินให้เหนื่อย หรืออาจจล่องเรือยางตามลำน้ำแม่กลองชมความสวยงามของ ธรรมชาติมาจนถึงจุดต่อรถก็ได้ซึ่งแนะนำว่า ควรล่องเรือยางด้วยเพราะจะทำให้เห็นวิวสองข้างทาง ได้เห็นวิว ทิวทัศน์ระหว่าทางได้เห็นน้ำตกสายเล็กสายน้อย รวมทั้งน้ำตกทีลอจ่อด้วยซึ่งถือเป็นการท่องเที่ยวทีลอซูแบบ ดั้งเดิมที่ได้อรรถรสที่สุด และจากนั้นเมื่อถึงจุดกางเต้นท์แล้วก็เดินเท้าเข้าไปยังน้ำตกอีกประมาณ 1.5 ก.ม. ก็จะถึงน้ำตกทีลอซู เช่นกัน ในช่วงเวลานี้น้ำตกทีลอซู จะใส โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนพ.ย.- ธ.ค. ปริมาณพอเหมาะและสีของน้ำตกจะสวยที่สุด
การเดินทาง
1.โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)เดินทางสู่ จ.ตาก โดยก่อนถึงตัวเมืองตาก 7 กม.ให้เลี้ยว ซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 5(ตาก-แม่สอด) สู่ อ.แม่สอด ในระยะทาง 86 กม. แล้วก็จะเจอทางหลวงหมายเลข 1090 สุดทางสาย 1090 ที่อุ้มผาง เส้นทางจากแม่สอดไปอุ้มผาง เป็นเส้นทางลอยฟ้า ระยะทาง 169 กม. มีโค้ง 1219 โค้ง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง ในการผ่านพ้นจากเส้นทางนี้ เส้นทางแคบและคดเคี้ยวไปตามไหล่ เขา คนขับควรมีฝีมือในการขับรถที่ชำนาญพอสมควรสำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องเมารถควรเตรียม ยาแก้เมารถ ไว้ด้วย
2.โดยรถประจำทาง
นั่งรถจากสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ สายกรุงเทพ- แม่สอด ไปต่อรถเพื่อไปยังอำเภออุ้มผาง โดยรถสองแถวจาก อ.แม่สอด ไปยังอุ้มผาง เที่ยวแรก 07.00น. ออกชม.ละคัน เที่ยวสุดท้ายเวลา 15.00 น. ค่าโดยสารคนละ 120 บาท
ที่มา http://www.paiduaykan.com/76_province/north/tak/teelorsu.html
วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
ความเป็นมาอุทยานแห่งชาติภูกระดึงได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.13 ตารางกิโลเมตร (217,576.25 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึงประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่)ภูกระดึงมีระดับความสูงอยู่ระหว่าง 400 – 1,200 เมตร จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร สภาพทั่วไปของภูกระดึงประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพองซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปีบนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวปรารถนาที่หวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึงสักครั้งหนึ่งในชีวิต พุธ
นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง ขอให้ติดต่อ สอบถาม หรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้า ทั้งที่พักประเภทเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองตามแผนผังจุดพักแรม ก่อนเดินทางได้โดยตรง ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์หมายเลข 0-4287-1333 (ตลอด 24 ชั่วโมง) และหมายเลข 0-4287-1458 ระหว่างเวลา (07.00 น.-16.30 น.)
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี
ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น
ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก
ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด
ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น
ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ
ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว
นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง ขอให้ติดต่อ สอบถาม หรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้า ทั้งที่พักประเภทเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองตามแผนผังจุดพักแรม ก่อนเดินทางได้โดยตรง ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์หมายเลข 0-4287-1333 (ตลอด 24 ชั่วโมง) และหมายเลข 0-4287-1458 ระหว่างเวลา (07.00 น.-16.30 น.)
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี
ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น
ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก
ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด
ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น
ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ
ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จ.ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จ.ปทุมธานี ประเภทวัตถุอาคารสถานที่
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์จัดแสดงนิทรรศการและจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี นำเสนอสาระน่ารู้นับจากการค้นพบทฤษฎี หลักการ และการประดิษฐ์ในอดีต ความก้าวหน้าถึงปัจจุบันและแนวโน้มสู่อนาคต นิทรรศการและชิ้นงานที่จัดแสดงนำเสนอ ในรูปแบบที่ให้ผู้ชมสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยการสัมผัส ทดลอง ร่วมแสดง และโต้ตอบกับชิ้นงานแสดงต่างๆ เนื้อที่จัดแสดงมีประมาณ 10,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 6 ชั้น ตั้งอยู่ที่ เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง เปิดให้บริการวันอังคาร-วัน อาทิตย์ (เว้นวันจันทร์) เวลา 9.30-17.00 น. ค่าเข้าชม เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท โทร.577-4172-8 การเดินทาง สามารถโดยสารรถประจำทางปรับอากาศสาย ปอ.1155 จากตลาดรังสิตและฟิวเจอร์พาร์ค ถึงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ได้รับการออกแบบและก่อสร้างในรูปทรงเรขาคณิตที่น่าทึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการก่อสร้างอันเป็น จุดดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นตัวอาคารมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ 3 ลูก แต่ละลูกมีขนาด 20*20*20 เมตรวางพิงกันเพื่อพยุงและเฉลี่ยการรับน้ำหนักของกันและกัน ทำให้เกิดความสมดุลในการทรงตัวโดยมีรากฐานในการรับน้ำหนักของตึกตรงบริเวณมุมแหลมของรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ทั้ง 3 ลูกโดยจุดรับน้ำหนักแต่ละจุดสามารถรับน้ำหนักได้ถีง 200 ตันโครงสร้างทั้งหมดประกอบด้วยโครงเหล็กเพื่อเสริมด้านความแข็งแรงของอาคารโดยเฉพาะ ในส่วนของลูกบาศก์มีโครงสร้างเป็นโครงเหล็กถักแบ่งเป็น 6 ชั้น มีความสูงประมาณ 45 เมตร หรือเท่ากับอาคาร 12 ชั้นมีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการภายใน ประมาณ10000ตารางเมตรนอกจากนั้นผนังภายนอกอาคารยังกรุด้วยแผ่นเหล็กเคลือบเซรามิค (Ceramic steel)
ซึ่งมีลักษณะผิวภายนอกที่ดูแลรักษาได้ง่ายและไม่ต้องทาสีตลอด อายุการใช้งานประกอบกับลักษณะพื้นผิวที่สะท้อนแสงและการติดตั้งที่มีความลาดเอียง จึงสะท้อนความร้อนได้มากช่วยให้ประหยัดพลังงานในการปรับอุณหภูมิภายในได้เป็นอย่าง ดีภายในอาคารมีการติดตั้งระบบควบคุม อุณหภูมิระบบป้องกันอัคคีภัยที่ไดมาตรฐาน ทั้งระบบตรวจจับควันไฟ (SmokeDetector) และระบบฉีดน้ำอัตโนมัติ(Sprinkle) ตลอดจนมีการจัดระบบการอำนวยความสะดวกในการเดินชม นิทรรศการภายในอาคารทั้งสำหรับผู้ชมทั่วไป และผู้ทุพลภาพจึงนับได้ว่านอกจากจะเป็นอาคารที่มีรูปทรงดึงดูดใจ แล้วยังเป็นอาคารที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของอพวช.เปิดให้บริการในปีพ.ศ.2543 มีภารกิจหลักดังนี้1.พัฒนาและจัดแสดงนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชักนำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจและรักในวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
2.จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นบ้านเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงกระบวนการการผลิตที่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์แทรก อยู่ในแต่ละขั้นตอนและเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษตลอดจนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยนอกจากผู้ชมจะได้สัมผัสกับอาคารทรงลูกเต๋าที่มีรูปทรงอันน่าทึ่งแล้วภายในยังจะได้สัมผัสกับการจัดแสดงนิทรรศการที่มีรูปแบบการนำเสนอแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 6 หัวข้อจัดแสดงในแต่ละชั้นภายในอาคาร
2.จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นบ้านเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงกระบวนการการผลิตที่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์แทรก อยู่ในแต่ละขั้นตอนและเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษตลอดจนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยนอกจากผู้ชมจะได้สัมผัสกับอาคารทรงลูกเต๋าที่มีรูปทรงอันน่าทึ่งแล้วภายในยังจะได้สัมผัสกับการจัดแสดงนิทรรศการที่มีรูปแบบการนำเสนอแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 6 หัวข้อจัดแสดงในแต่ละชั้นภายในอาคาร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จ.กรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
ที่มา http://www.tripsthailand.com/th/thai_places_national_museum.php
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เดิมนั้นเป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 4 ซึ่งจัดเก็บรักษาศิลปะโบราณวัตถุและเครื่องราชบรรณาการ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ศาลาสหทัยสมาคมหรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวังจัดตั้ง "พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน" ขึ้นจากนั้นพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายมายังพระที่นั่ง 3 องค์ ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานพระที่นั่งและ หมู่พระวิมานทั้งหมดในวังหน้าให้เป็น "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร" ลักษณะพื้นที่การจัดแสดงแบ่งเป็น 3 หมวดคือ ประวัติศาสตร์ชาติไทย เริ่มตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ยุค โดยสมัยก่อนประวัติศาสตรแสดงในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมานด้านหลัง ส่วนสมัยประวัติศาสตร์จัดแสดง ประติมากรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ที่อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์และประติมากรรม สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 นั้นจัดแสดงในอาคารมหาสุรสิงหนาถ ประณีตศิลปละชาติพันธุพิทยา จัดแสดงเครื่องดนตรี เครื่องถม เครื่องถ้วย เครื่องทอง เครื่องมุก เครื่องไม้จำหลัก เครื่องสูง ผ้าโบราณ หัวโขน หุ่นกระบอก ฯลฯ ในอาคารหมู่พระวิมาน อาคารโรงราชรถ จัดแสดงราชรถใช้ในการพระบรมศพเช่น พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตรราชรถ ราชรถน้อย และเครื่องประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ นอกจากศิลปะโบราณวัตถุแล้ว พระตำหนักและพระที่นั่งบางองค์นายในพิพิธภัณฑ์ เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระตำหนักแดง ศาลาลงสรง ฯลฯ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีความลงตัวอันโดดเด่นและงดงามอย่างยิ่ง |
ที่อยู่ ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 รถประจำทาง: 3 6 9 15 19 30 32 33 39 43 47 53 59 60 65 70 80 82 91 123 201 203 รถปรับอากาศ:1 8 25 506 507 512 สาย38 39 82 ท่าเรือ: เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าช้าง เวลาทำการ: พุธ-อาทิตย์ 9.00-16.00 น. วันหยุดทำการ: จันทร์-อังคาร วันนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม: คนไทย 20บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท กิจกรรม เทศกาล: วันพิพิธภัณฑ์ไทย (19 ก.ย.) วันกรมพระราชวังบวรฯ (3 พ.ย.) ห้องสมุด: เสาร์ -อาทิตย์ 9.30 -15.30 ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน:2504 สมาชิก: สมัครสมาชิกไม่เสียค่าธรรมเนียม มัคคุเทศน์ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ วันหยุดทำการ: พุธ พฤหัส 9.30 -12.00 น. ข้อห้าม: ถ่ายรูปภายในอาคาร ที่จอดรถ: บริเวณภายในพิพิธภัณฑ์ สถานที่ใกล้เคียง: กรมศิลปากร ตึกถาวรวัตถุ พระบรมมหาราชวัง พิพิธภัณฑ์บ้านปืนใหญ่โบราณ พิพิธภัณฑ์ ศิลป์พีระศรี ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร โรงละครแห่งชาติ วิทยาลัยนาฏศิลป์วัดพระแก้ว วัดมหาธาตุ ศาลหลักเมือง ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยว กทม. สนามหลวง หอกลอง หอนาฬิกา |
ที่มา http://www.tripsthailand.com/th/thai_places_national_museum.php
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)